บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2015

Vim Tips

รวมเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของ vim ที่เป็นประโยชน์ การเลื่อนเคอร์เซอร์ในบรรทัดยาว สำหรับบรรทัดที่ยาวเกินขอบขวา vim จะแสดงโดย wrap เป็นหลายบรรทัดบนเทอร์มินัล แต่การเลื่อนเคอร์เซอร์ด้วย j , k จะข้ามบรรทัดยาว ๆ นั้นทั้งบรรทัด แต่บางครั้งเราอยากเลื่อนข้ามแค่บรรทัดที่ wrap ไว้เท่านั้น คำสั่งที่ใช้ข้ามบรรทัด wrap คือ gj และ gk คำสั่งอื่นที่มีประโยชน์สำหรับบรรทัดยาว: เลขคอลัมน์ | ไปที่คอลัมน์ที่กำหนดในบรรทัดยาวปัจจุบัน 0 ไปที่คอลัมน์แรก (แม้จะเป็นช่องว่างก็ตาม) ^ ไปที่ต้นบรรทัด (ข้ามช่องว่างที่ต้นบรรทัด) $ ไปที่ท้ายบรรทัด w , b เลื่อนไปข้างหน้า/ถอยหลังทีละคำ (เครื่องหมายวรรคตอนมีผลต่อขอบเขตของคำ) W , B เลื่อนไปข้างหน้า/ถอยหลังทีละกลุ่มอักขระ (ไม่สนใจชนิดอักขระนอกจากช่องว่าง (เลื่อนไปข้างหน้าได้เร็วมาก) e , E เลื่อนไปที่ท้ายคำ/ท้ายกลุ่มอักขระ การตัดบรรทัดยาว การตัดบรรทัดยาวให้เป็นหลายบรรทัดใน 80 คอลัมน์ ใช้คำสั่ง gqq ในกรณีที่ต้องการกำหนดขอบขวาให้น้อยกว่า 80 คอลัมน์ ก็กำหนดตัวแปร wrapmargin ให้เป็นค่าที่จะร่นจากขอบขวาเข้ามา ดังนี้: :set wrapm

Open source ในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและเรื่องอื่น ๆ

รูปภาพ
โสเหล่ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 58.07 ครับ ในครั้งนี้ทาง KKLUG มีโอกาสต้อนรับสมาชิกใหม่ท่านหนึ่งคือคุณหมอกกจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นครับ ทีแรกคุณหมอออกตัวว่าไม่ค่อยรู้เรื่องโปรแกรมอะไร แต่หลังจากพูดคุยกันก็พบว่าคุณหมอใช้ Opensource ในงานอยู่เป็นประจำครับ เรื่องที่คุณหมอเล่าให้ฟังก็ได้แก่ การอ่านไฟล์สไลด์กระจกโดยใช้โปรแกรม OpenSlide ซึ่งอ่านไฟล์ภาพของสไลด์กระจกได้จากกล้องทางการแพทย์หลายค่าย (คิดว่าเกือบทุกค่าย) นอกจากนี้หมอกกยังได้เล่าให้ฟังถึงแนวคิดเรื่องการทำวิจัยแนว เหมืองข้อมูล (Data Mining) กับข้อมูลทางการแพทย์ซึ่งมีมหาศาล เช่นข้อมูลบทความทางการแพทย์ ข้อมูลการรักษาผู้ป่วย ฯลฯ  เล่าเรื่องการลองใช้ GNUROOT ในการติดตั้ง Linux ลงบนโทรศัพท์ระบบแอนดรอยด์โดยไม่ต้อง Root ระบบ นอกจากนี้เราก็ได้โสเหล่กันในเรื่องอื่น ๆ อีกคือ   การเรียน Git จาก Udacity ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ผม (จ๊าก) ก็หัดใช้งาน Git ผ่านหลักสูตรของ udacity  ซึ่ง (ดูเหมือนว่าจะ) ได้ผลดี เพราะผมพอเข้าใจในสิ่งที่พี่เทพเคยแนะนำในการโสเหล่ครั้งก่อน ๆ มากขึ้น หลักสูตรของ udacity นั้นมีทั้งในระดับเบื้อ