บทความ

Vim Tips

รวมเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของ vim ที่เป็นประโยชน์ การเลื่อนเคอร์เซอร์ในบรรทัดยาว สำหรับบรรทัดที่ยาวเกินขอบขวา vim จะแสดงโดย wrap เป็นหลายบรรทัดบนเทอร์มินัล แต่การเลื่อนเคอร์เซอร์ด้วย j , k จะข้ามบรรทัดยาว ๆ นั้นทั้งบรรทัด แต่บางครั้งเราอยากเลื่อนข้ามแค่บรรทัดที่ wrap ไว้เท่านั้น คำสั่งที่ใช้ข้ามบรรทัด wrap คือ gj และ gk คำสั่งอื่นที่มีประโยชน์สำหรับบรรทัดยาว: เลขคอลัมน์ | ไปที่คอลัมน์ที่กำหนดในบรรทัดยาวปัจจุบัน 0 ไปที่คอลัมน์แรก (แม้จะเป็นช่องว่างก็ตาม) ^ ไปที่ต้นบรรทัด (ข้ามช่องว่างที่ต้นบรรทัด) $ ไปที่ท้ายบรรทัด w , b เลื่อนไปข้างหน้า/ถอยหลังทีละคำ (เครื่องหมายวรรคตอนมีผลต่อขอบเขตของคำ) W , B เลื่อนไปข้างหน้า/ถอยหลังทีละกลุ่มอักขระ (ไม่สนใจชนิดอักขระนอกจากช่องว่าง (เลื่อนไปข้างหน้าได้เร็วมาก) e , E เลื่อนไปที่ท้ายคำ/ท้ายกลุ่มอักขระ การตัดบรรทัดยาว การตัดบรรทัดยาวให้เป็นหลายบรรทัดใน 80 คอลัมน์ ใช้คำสั่ง gqq ในกรณีที่ต้องการกำหนดขอบขวาให้น้อยกว่า 80 คอลัมน์ ก็กำหนดตัวแปร wrapmargin ให้เป็นค่าที่จะร่นจากขอบขวาเข้ามา ดังนี้: :set wrapm

Open source ในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและเรื่องอื่น ๆ

รูปภาพ
โสเหล่ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 58.07 ครับ ในครั้งนี้ทาง KKLUG มีโอกาสต้อนรับสมาชิกใหม่ท่านหนึ่งคือคุณหมอกกจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นครับ ทีแรกคุณหมอออกตัวว่าไม่ค่อยรู้เรื่องโปรแกรมอะไร แต่หลังจากพูดคุยกันก็พบว่าคุณหมอใช้ Opensource ในงานอยู่เป็นประจำครับ เรื่องที่คุณหมอเล่าให้ฟังก็ได้แก่ การอ่านไฟล์สไลด์กระจกโดยใช้โปรแกรม OpenSlide ซึ่งอ่านไฟล์ภาพของสไลด์กระจกได้จากกล้องทางการแพทย์หลายค่าย (คิดว่าเกือบทุกค่าย) นอกจากนี้หมอกกยังได้เล่าให้ฟังถึงแนวคิดเรื่องการทำวิจัยแนว เหมืองข้อมูล (Data Mining) กับข้อมูลทางการแพทย์ซึ่งมีมหาศาล เช่นข้อมูลบทความทางการแพทย์ ข้อมูลการรักษาผู้ป่วย ฯลฯ  เล่าเรื่องการลองใช้ GNUROOT ในการติดตั้ง Linux ลงบนโทรศัพท์ระบบแอนดรอยด์โดยไม่ต้อง Root ระบบ นอกจากนี้เราก็ได้โสเหล่กันในเรื่องอื่น ๆ อีกคือ   การเรียน Git จาก Udacity ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ผม (จ๊าก) ก็หัดใช้งาน Git ผ่านหลักสูตรของ udacity  ซึ่ง (ดูเหมือนว่าจะ) ได้ผลดี เพราะผมพอเข้าใจในสิ่งที่พี่เทพเคยแนะนำในการโสเหล่ครั้งก่อน ๆ มากขึ้น หลักสูตรของ udacity นั้นมีทั้งในระดับเบื้อ

Introduction to Puppy Linux

รูปภาพ
ในโสเหล่ 58.02 คุณมานิต อนุกูลอนันต์ชัย ได้มาแนะนำ Puppy Linux ซึ่งเป็นลินุกซ์ขนาดเล็กให้เราฟัง แนวคิดของ Puppy Linux คือ สร้างดิสโทรที่มีขนาดเล็ก กินทรัพยากรของเครื่องน้อยที่สุด จนสามารถทำงานในเครื่องรุ่นเก่า ๆ ได้ มีทั้งแบบ live และแบบติดตั้งลงเครื่อง ประเด็นต่าง ๆ ที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Puppy Linux: เดสก์ท็อปหลักใช้ JWM เป็น window manager และโปรแกรมส่วนใหญ่ใช้ GTK+ 2 (รุ่นเก่า ๆ ใช้ Fluxbox ซึ่งออกจะใช้ยากสำหรับผู้ใช้ทั่วไป และมีรุ่นที่ใช้ Enlightenment ด้วย) มีระบบจัดการแพกเกจที่เรียกว่า PPM (Puppy Package Manager) โดยรูปแบบแพกเกจเรียกว่า PET (Puppy Enhanced Tarball) มี Puppy Linux หลาย base บ้างก็มาจาก Ubuntu บ้างก็มาจาก Slackware จึงทำให้เราพอเห็นภาพว่า Puppy เป็นแนวคิดของการทำดิสโทรต่าง ๆ ให้มีขนาดเล็ก ไม่ได้เจาะจงค่ายใดค่ายหนึ่ง มีการพัฒนาเครื่องมือสำหรับตั้งค่าต่าง ๆ เช่น การเชื่อมต่อเครือข่าย การตั้งค่าหน้าจอ ในแบบฉบับของ Puppy เอง โดยทั้งหมดเขียนด้วย shell script เพื่อสร้าง GUI ที่สวยงามด้วย gtkdialog ! document ต่าง ๆ ถูกตัดออกทั้งหมด ร

รวมประเด็นการทำ Proceedings

บันทึกประเด็นต่างๆ ที่พบในการทำ proceedings สำหรับงานประชุม เพื่อหาโอกาสหา solution ที่เหมาะสม (ด้วย LaTeX) กันต่อไป การพิมพ์แยกหน้าซ้าย-ขวา พร้อมทำ inner margin การรวมบทความที่เป็น PDF เข้ามาในเอกสาร พร้อมเพิ่มบทคัดย่อ ทำสารบัญอัตโนมัติจากบทความที่เป็น PDF ที่นำมารวมกันนั้น การเพิ่มเนื้อหาส่วนหน้า เช่น คำนิยม พร้อมลายเซ็น ทำดัชนีอัตโนมัติ (ภาษาไทยมักมีปัญหาเรื่องการจัดหมวดตามอักขระเมื่อมีสระหน้า) การทำหนังสือบทคัดย่อ (abstract book) แยกต่างหาก การเพิ่ม thumb index ที่ขอบขวา เพื่อทำเครื่องหมายช่วยเปิดหาไว้ที่ริมกระดาษด้านขวา การเพิ่มลายน้ำ (watermark) การเชื่อมโยงกับระบบ submit paper เพื่อดึงข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันของผู้เขียน นำเสนอโดย: Kittiphong Meesawat ในโสเหล่ 57.11

About Us

Khon Kaen Linux User Group (KKLUG) เป็นกลุ่มผู้ใช้ลินุกซ์ (Linux) หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส (Open Source Software) อื่น ๆ ในจังหวัดขอนแก่น ที่จะมีการนัดรวมตัวกันเพื่อ โสเหล่ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ลินุกซ์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สอื่น ๆ เป็นประจำในวันเสาร์รองสุดท้ายของทุกเดือน ตามสถานที่ที่จะประกาศเป็นคราว ๆ ไป (มักจะเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่น) โสเหล่เป็นภาษาอีสานหมายถึงการที่คนมารวมตัวกันเพื่อพูดคุยเรื่องสัพเพเหระ ปรึกษาหารือ วิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องต่าง ๆ อย่างไม่เป็นทางการและไม่มีพิธีรีตอง กิจกรรมโสเหล่ของ KKLUG ก็เช่นเดียวกัน คือเป็นการที่ผู้ใช้ลินุกซ์ส่วนหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นและใกล้เคียงมาพบปะพูดคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เทคนิค ข่าวสาร อารมณ์ขัน ฯลฯ ในแวดวงโอเพนซอร์ส รวมไปถึงการรวมหัวกันแก้ปัญหาให้เพื่อนสมาชิกคนอื่น ๆ นอกจากนี้เราอาจจะร่วมกันทำกิจกรรมบางอย่างที่จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกหรือสังคมภายนอกตามสมควร รูปแบบการรวมกลุ่ม จะเป็นไปเพื่อการศึกษาและเผยแพร่ความรู้ โดยยึดแนวคิดการแบ่งปันในแบบสังคมโอเพนซอร์ส ไม่มีการแสวงกำไร เปิดรับสมาชิกโดยไม่จำกัด ขอเพียงมีความสนใจที่จะเรียนรู้